วันอังคารที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2553

กฎหมายอาญา


ปัจจุบันนี้ ปัญหาการใช้ความรุนแรงในครอบครัว ในเมืองไทยนั้นเพิ่มขึ้นทุกๆวันไปพร้อมกับปัญหาสังคมอย่างอื่นด้วย และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่จะล่วงละเมิดมิได้ รวมไปถึงความเท่าเทียมกันในสังคม ที่นับวันจะมีความหลากหลาย และซับซ้อนมากขึ้น จึงทำให้มีการแก้ไขกฎหมาย อาญามาตรา 276 และ 277
มาตรา 276 ประมวลกฎหมายอาญา (ของเดิม) ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราหญิงอื่นซึ่งมิใช่ภริยาของตนโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้...โดยให้แก้เป็น มาตรา 276 ประมวลกฎหมายอาญา (แก้ไขใหม่) ผู้ใดข่มขืนกระทำชำเราผู้อื่นโดยขู่เข็ญด้วยประการใดๆ โดยใช้กำลังประทุษร้าย โดยหญิงอยู่ในภาวะที่ไม่สามารถขัดขืนได้.. ให้แก้จาก “หญิงอื่นที่มิใช่ภริยาของตน” เป็น “ผู้อื่น” ทำให้ ผู้ชายก็ถูกข่มขืนได้ ไม่ว่าจะเป็นชายข่มขืนชาย หรือ หญิงข่มขืนชาย ประเด็นต่อมาเรื่องโทษ “หากต้องรับโทษเท่ากันจะข่มขืนภริยาตัวเองทำไม คนเราเมื่อข่มขืนภริยาตัวเองไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดบทลงโทษไว้ เลยต้องไปข่มขืนผู้อื่นแทน เพราะยังไงโทษก็เท่ากัน และในส่วนโทษในการกระทำชำเราผู้ใหญ่ ตามมาตรา 276 กับกระทำชำเราเด็กอายุไม่เกินสิบห้า
ตามมาตรา 277 อัตราโทษกับเท่ากันต่างกันตรงที่การกระทำชำเราเด็กยอมความไม่ได้เท่านั้น กฎหมายยัง ให้คำนิยามคำว่า “กระทำชำเรา” หมายความว่า การกระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยใช้อวัยวะเพศของผู้กระทำกระทำต่อ อวัยวะเพศ ทวารหนัก หรือช่องปากของผู้อื่น หรือใช้สิ่งใดกระทำกับอวัยวะเพศหรือทวารหนักของผู้อื่น ประเด็นที่น่าสนใจคือ กรณีที่ผู้ชาย(เกย์)บังคับให้ผู้ชายกระทำต่อทวารหนัก (เกย์)เพื่อสนองความใคร่ของผู้บังคับ จะเป็นการกระทำชำเราหรือไม่นั้น ความเห็นของผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นการกระทำชำเราเนื่องจากในความหมายว่าการ กระทำชำเราไม่มีคำว่า “กระทำเพื่อสนองความใคร่ของผู้กระทำโดยใช้ “ทวารหนัก”ของผู้กระทำกระทำต่ออวัยวะเพศ ผู้อื่น” ผมคิดว่าน่าจะเป็นเพียงการขมขืนใจให้กระทำ...ตามมาตรา 309 เท่านั้น ประเด็นต่อมา มาตรา 277 ผู้ใดกระทำชำเราเด็กอายุยังไม่เกินสิบห้าซึ่งมิใช่สามีหรือภริยาของตนโดย เด็กนั้นจะยินยอมหรือไม่ก็ตาม ข้อสงสัยคือในกรณีที่เด็กอายุไม่เกินสิบห้าปีที่ไม่ได้เป็นภริยากันโดยทั้ง คู่ตกลงยินยอมกระทำชำเราซึ่งกันและกัน ก็ครบองค์ประกอบความผิดตามมาตรา 277 แล้ว เช่นนี้เด็กก็ต้องมีความผิดทั้งสองฝ่าย และยิ่งเป็นชายกระทำต่อชายหรือหญิงกระทำต่อหญิงก็ต้องมีความผิดและรับโทษ สถานเดียว เพราะศาลไม่อาจอนุญาตให้สมรสกับได้ที่มีคำว่าซึ่งมิใช่สามีหรือภรรยาของตน” ก็เพื่อให้สอดคล้องกับมาตรา 277 วรรคท้าย
ในกรณีที่มีการกระทำชำเราและศาลจะอนุญาตให้สมรสกันแล้วไม่ต้องรับโทษนั้นตาม กฎหมายเดิมไม่จำกัดอายุชายผู้กระทำที่กระทำต่อเด็กหญิงอายุตั้งแต่สิบสามถึง สิบห้าโดยเด็กนั้นยินยอม แต่กฎหมายใหม่จำกัดอายุผู้กระทำไว้ว่าต้องไม่เกินสิบแปดปีกระทำต่อเด็กอายุ ตั้งแต่สิบสามถึงสิบห้า โดยเด็กนั้นยินยอม ที่สำคัญวรรคนี้มีไว้สำหรับชายกับหญิงเท่านั้นที่มีสิทธิ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น